9 ก.พ. 57 นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีนและกรรมการ กปปส. (Green Politics) ส่งอีเมลเเถลงข่าวถึงสื่อมวลชนวันนี้ว่า " ผมเห็นว่าวิกฤติจำนำข้าวที่รัฐบาลรักษาการยังไม่สามารถหาเงินมาจ่ายหนี้ชาวนากว่า 1.25 แสนล้านบาทนั้น กำลังจะกลายเป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติเพราะความดื้อด้านของรัฐบาล โดยเฉพาะการดื้อดึงอยู่ในตำแหน่งนายกฯรักษาการ นานไปเท่าไหร่ ยิ่งทำให้การเยียวยาช่วยเหลือชาวนาตีบตันและยุ่งยากมากขึ้นอีก เพราะรัฐบาลรักษาการไม่มีอำนาจกู้เงินใดๆ และจะไม่มีสถาบันการเงินใดๆ ปล่อยกู้เพราะเต็มไปด้วยความเสี่ยง ความพยายามกดดัน กกต.เร่งจัดการเลือกตั้งเพื่อเปิดสภาฯ เลือกนายกฯ รัฐบาลจะได้มีอำนาจเต็มในการกู้ ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เพราะเลือกตั้งอาจเป็นโมฆะ และมีความเสี่ยงจนอาจยืดเยื้อไปอีกมากกว่า 5-6 เดือน ยิ่งเป็นการฆ่าซ้ำชาวนา พรรคเพื่อไทยต้องหยุดเอาชาวนาเป็นตัวประกัน เลิกหลอกลวงและบิดเบือนว่าต้องเร่งเลือกตั้งแล้วจะได้เงิน หรือกล่าวหาว่าเพราะม็อบ กปปส.ขัดขวางธนาคารจนไม่กล้าปล่อยกู้ ทั้งที่รู้กันอยู่ว่ารัฐบาลถังแตกมาก่อนที่ กปปส.จะชุมนุมด้วยซ้ำ วันนี้ความจริงถูกเปิดโปงแล้วว่า โครงการจำนำข้าว เป็นโครงการที่เอาชาวนาบังหน้า แต่เบื้องหลังเต็มไปด้วยการทุจริตและในวันที่ถังแตกก็ป้ายสีโทษ กปปส.และในวันที่อยากอยู่ในอำนาจต่อก็เอาชาวนามาเป็นตัวประกัน โศกนาฏกรรมของชาวนาไทยครั้งนี้ เกิดจากทักษิณคิด ยิ่งลักษณ์ทำ และเพื่อไทยพยายามจะกลบเกลื่อน ถือว่าอำมหิตต่อคนจนมาก ขนาดชาวนาถือใบประทวนมาทวงหนี้ยังกล่าวหาว่าเป็นชาวนาปลอม วิกฤติชาวนาครั้งนี้ ทำให้เราเห็นหายนะจากนโยบายประชานิยม และเป็นโอกาสที่สังคมจะช่วยกันคิดแก้ปัญหาชาวนาและความยากจนอย่างยั่งยืนเสียที "
ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20140209/178575.html#.Uvh5ih3TwSE
วันที่ 9 ก.พ.57 นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.เดินรณรงค์ ถนนสีลม ขอบริจาคเงิน 10 ล้านบาท ไปช่วยชาวนาในโครงการรับจำนำข้าวว่า การกระทำของนายสุเทพเหมือนหน้าไหว้หลังหลอก เพราะนายสุเทพส่ง กปปส.ไปกดดันธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ไม่ให้ปล่อยกู้รัฐบาล 1.3 แสนล้านบาท เพื่อนำไปช่วยเหลือชาวนา ขอให้นายสุเทพเลิกเล่นละคร เพราะไม่เคยเห็นหัวชาวนา ทราบว่า มีการจัดทีมนักวิชาการ อาสาสมัคร ร่วมพันคน เข้าไปปะปนกับชาวนา มีการปลุกระดมชาวนาว่า ถ้าล้มรัฐบาลได้ ชาวนาจะได้เงินค่าจำนำข้าว โดยไปเสี้ยมชาวนาให้มาบุกที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมในวันที่ 10 ก.พ. ถือเป็นการเอาความเดือดร้อนชาวนามาล้มรัฐบาล ถือว่าไม่ถูกต้อง
นายพร้อมพงศ์ กล่าวต่อว่า ในวันที่ 10 ก.พ.จะไปยื่นเรื่องต่อนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่ศูนย์รักษาความสงบ(ศรส.)ให้ตรวจสอบกรณีนายแทน เทือกสุบรรณ บุตรชายนายสุเทพซื้อที่ดิน จ.นครศรีธรรมราช มูลค่า 280 ล้านบาท โดยใช้เงินสดซื้อ ซึ่งนายแทนไม่สามารถชี้แจงที่มาของเงินสดดังกล่าวได้ อ้างเพียงว่า เป็นเงินที่ได้จากการทำธุรกิจ จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าเงินจำนวนดังกล่าวมีพิรุธหลายจุด สงสัยว่า จะเป็นเงินบริจาคของ กปปส.หรือไม่ ดังนั้นจะไปยื่นเรื่องให้ดีเอสไอตรวจสอบเส้นทางของเงินจำนวนดังกล่าวว่า เป็นการฟอกเงินหรือไม่
โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส. เชิญกลุ่มตัวแทนอาชีพต่างๆ มาเสวนาวางพิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศไทยว่า เป็นการอ้างการปฏิรูปบังหน้า แต่ฉากหลังคือการล้มรัฐบาล ขอถามว่า สมัยนายสุเทพเป็นรองนายกรัฐมนตรี เหตุใดไม่คิดปฏิรูป แต่พอสูญเสียอำนาจกลับจะปฏิรูป 5 ด้าน ทั้งที่มีการเลือกตั้งไปแล้ว 90 เปอร์เซ็นต์ การปฏิรูปต้องมีสภาผู้แทนราษฎร มีส.ส. เพื่อจะเสนอกฎหมาย จึงเป็นการปฎิรูปที่สมบูรณ์ แต่มีคนบางกลุ่มต้องการให้มีนายกฯมาตรา 7 เช่น นายสุเทพ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง พล.อ.สายหยุด เกิดผล อดีตผบ.ทหารสูงสุด ที่มาเรียกร้องให้นายกฯลาออก เพื่อตั้งนายกฯคนกลาง อย่าคิดว่ามีความรู้สูงกว่าแล้วจะไม่เคารพประชาชน ขอให้ม.ร.ว.ปรีดิยาธรเลิกฝันกลางวันเป็นนายกฯคนกลางได้แล้ว
นายพร้อมพงศ์ แถลงกรณีนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ระบุกกต.จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ หากรัฐบาลไม่ออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งฉบับใหม่ ใน 28 เขตที่ไม่มีผู้สมัครส.ส. ตามที่กกต.เสนอไปว่า สิ่งที่กกต.เสนอเป็นการวางยารัฐบาลให้ออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งใหม่ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เปิดทางให้พรรคประชาธิปัตย์ไปยื่นเอาผิดรัฐบาลทั้งคณะ และมีผลต่อการยุบพรรคเพื่อไทย ที่ผ่านมาศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งเคยมีคำสั่งว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของกกต.โดยตรงในการจัดการและควบคุมการเลือกตั้ง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของกกต.ในการจัดเลือกตั้งใหม่ทั้ง 28 เขต ไม่ใช่ของรัฐบาล ไม่อยากให้กกต.ซื้อเวลาอีกต่อไป อย่าโยนภาระให้รัฐบาล ถ้ากกต.ไม่ดำเนินการต้องรับผิดชอบทั้งทางอาญาและแพ่ง ขอให้กกต.เชิญอดีตกกต.เช่น นางสดศรี สัตยธรรม นายประพันธ์ นัยโกวิท มาเป็นที่ปรึกษาการเลือกตั้งในประเด็นการเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัคร 28 เขต และการลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไปใหม่เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ถ้าปล่อยให้เลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะจะเป็นตราบาปของกกต.ไปตลอด
เวทีทางออกประเทศไทยนอกรอบ นักวิชาการแนะ 3 แนวทาง ให้มีเลือกตั้งลักษณะพิเศษ เน้นการหาเสียงเพื่อปฏิรูปประเทศ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมกับ กกต. พร้อมตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปประเทศ โดยมีทุกพรรคการเมืองช่วยกันออกแบบ...
วันที่ 17 ธ.ค. 56 ที่ประชุมวิชาการนอกรอบหาทางออกประเทศไทย นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมหารือในวงวิชาการนอกรอบ ต่อเนื่องมาจากเวทีเสวนาประเทศไทยของเราจะไปทิศทางไหนว่า แม้ที่ประชุมจะมีความเห็นไม่ตรงกันทั้งหมด แต่มีข้อเสนอที่น่าสนใจ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันหาทางออกประเทศต่อไป 3 แนวทางคือ
1.อยากให้มีการเลือกตั้ง แต่เป็นลักษณะพิเศษที่นำไปสู่เป้าหมายการปฏิรูปอย่างแท้จริงในทุกด้าน ซึ่งรัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ จะทำหน้าที่เพียงการปฏิรูปประเทศให้สำเร็จ แต่อยู่ไม่ครบเทอม หลังจากนั้น คืนอำนาจให้ประชาชนเพื่อเลือกตั้งใหม่ พร้อมกันนี้ ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมกับ กกต. เพื่อรณรงค์ให้มีการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม
2. พรรคการเมืองที่จะลงสู่สนามเลือกตั้งในครั้งนี้ ต้องแสดงท่าทีที่ชัดเจน ชูนโยบายการหาเสียงปฏิรูปประเทศเท่านั้น ไม่มีนโยบายประชานิยม เพราะทำหน้าที่ชั่วคราว
3. นอกจากจะมีรัฐบาลที่ทำหน้าที่ปฏิรูปประเทศแล้ว ต้องมีการตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูป แต่รูปแบบการได้มา หรือวิธีดำเนินการเป็นอย่างไร ยังไม่ตกผลึก หลายฝ่ายคงต้องช่วยกันเสนอเข้ามา
แต่การนัดหารือนอกรอบจะมีขึ้นอีกหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับนักวิชาการจะเสนอเข้ามา แต่เชื่อว่าแนวทางที่ออกมาในวันนี้ นักวิชาการ ภาคธุรกิจ คงนำไปหารือในวงเสวนาอื่นๆ ต่อไป
ด้านนายอนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ม.รังสิต กล่าวเพิ่มเติมว่า องค์กรเพื่อการปฏิรูปต้องให้พรรคการเมืองทุกพรรค เสนอรายละเอียดเข้ามา และต้องลงสัตยาบันร่วมกันที่จะแก้วิกฤติการเมือง แต่คงไม่สามารถกำหนดระยะเวลาปฏิรูปได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ส่วนตัวอยากให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. 57 ตามที่ประกาศในพระราชกฤษฎีกายุบสภา
อย่างไรก็ตาม ความเห็นที่ออกมาครั้งนี้ คงไม่สอดคล้องกับแนวทางของ กปปส. ที่ต้องการปฏิรูปแล้วจึงมีการเลือกตั้ง แต่ก็เห็นว่า กปปส. เป็นส่วนหนึ่งของคนทั่วประเทศที่ไม่ตอบโจทย์ได้ทั้งหมด ดังนั้น การหารือก็มีการนำแนวทางของ กปปส. มาพิจารณาแล้ว.
ที่มา http://www.thairath.co.th/content/pol/389923
"ประชาชนในยุคปัจจุบันไม่ได้มีหน้าที่เพียงออกมาเลือกตั้งเท่านั้น แต่มากกว่านั้นคือการรักษาสิทธิในการแสดงความคิดเห็นหลังเลือกพรรครัฐบาลแล้ว"
เป็นความเห็นของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุจิต บุญบงการ นักรัฐศาสตร์ชื่อดังจากรั้วจามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่อ่านสถานการณ์การเมืองไทยในยามที่มีผู้คนจำนวนมากมายออกมาต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จนทำให้เกิดคำถามว่าทำไมไม่รอให้ครบ 4 ปีแล้วค่อยหย่อนบัตรกันใหม่ หรือแม้กระทั่งนายกรัฐมนตรียุบสภาไปแล้วจะเอาอะไรอีก อาจารย์สุจิตนั้น นอกจากเคยดำรงตำแหน่งสำคัญอย่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 แล้ว ยังเป็นประธานสภาพัฒนาการเมือง ทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศไทยด้วย จึงไม่แปลกที่อาจารย์สุจิตจะมองเห็นและเข้าใจบทบาทของประชาชนในฐานะ"พลเมือง" ในยุคปัจจุบันที่มีความตื่นตัวอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการออกมาเดินบนท้องถนนของผู้คนจำนวนมาก ณ ปี 2556 ซึ่งอาจารย์สุจิตมองว่าเป็นคลื่นมหาชนที่หนาแน่นกว่าเมื่อครั้งเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 เสียอีก "แม้คณะรัฐบาลจะมากจากการเลือกตั้ง แต่ถ้าบริหารงานไม่ถูกทำนองคลองธรรม ประชาชนย่อมมีสิทธิออกมาแสดงความคิดเห็น ถ้าผู้แทนคนใดปฏิบัติหน้าได้ดี อาจได้รับการยกย่อง แต่ถ้าไม่ดีก็จะถูกตรวจสอบตลอดเวลา ผมเชื่อว่าหลังจากเหตุการณ์นี้การบริหารประเทศในอนาคต นักการเมืองคงจะคิดถึงประชาชนมากขึ้น เพราะประชาชนในยุคปัจจุบันไม่ได้มีหน้าที่เพียงออกมาเลือกตั้งเท่านั้น แต่พวกเขายังรักษาสิทธิในการแสดงความคิดเห็นหลังเลือกพรรครัฐบาลแล้ว" อาจารย์สุจิต ย้ำว่า ประชาชนวันนี้ไม่ได้มองว่าการเลือกตั้งเป็นการถ่ายโอนอำนาจการบริหารประเทศไปให้ผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะใดคณะหนึ่ง แต่เป็นเพียงการเลือก "ตัวแทน" ขึ้นมาบริหารให้ประชาชนเท่านั้น ที่ผ่านมาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยอ่อนแอสะสมมาเป็นเวลานานและฝังรากลึก จนผู้นำสามารถชักจูงกลุ่มคนบางกลุ่มให้ทำงานเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องมากกว่าผลประโยน์ของประชาชนโดยรวมและประเทศชาติได้ เห็นได้จากการออกแบบนโยบายประชานิยมให้ประชาชนชื่นชอบ และแสวงประโยชน์จากโครงการเหล่านี้ กับสภาพการณ์การเมืองในปัจจุบัน อาจารย์สุจิต ชี้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าการบริหารประเทศเป็นการทำงานเพื่อคนกลุ่มเดียว โดยได้รับคำสั่งมาจากอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แม้จะพยายามปฏิเสธว่าไม่มีการบริหารงานแทนก็ตาม แต่การที่พรรคเพื่อไทยใช้สโลแกนในการหาเสียงว่า"ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ" ก็เป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์รัฐบาลและสภาตัวแทนของอดีตนายกฯอย่างชัดเจน จากสภาพปัญหาดังกล่าว นักรัฐศาสตร์อาวุโส จึงสรุปในเบื้องต้นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ไม่ใช่ทางออกที่จะยุติปัญหาได้ "แก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่ทางออก เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยมีการแก้ไขและยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่มาแล้วหลายครั้ง มีรัฐธรรมนูญมากถึง 18 ฉบับ แต่ก็ไม่สามารถปฏิรูปการเมืองได้เป็นผลสำเร็จ แม้การแก้ไขจะเป็นความหวังว่าอาจทำให้ทุกอย่างดีขึ้น แต่ความจริงก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป" "อย่างตอนที่เปลี่ยนมาใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ทุกฝ่ายคิดว่ามีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพราะมีการลงไปสอบถามความคิดเห็นประชาชน แต่เมื่อใช้จริงกลับพบว่ายังมีช่องโหว่ให้นักการเมืองแสวงหาผลประโยชน์ได้ นี่จึงเป็นที่มาของการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 อีกครั้ง โดยมีการเพิ่มเรื่องจริยธรรมทางการเมืองเข้าไป แต่แล้วก็ไม่มีนักการเมืองคนไหนปฏิบัติตามสักเท่าไหร่" "เช่นเดียวกับการประกาศยุบสภาเมื่อเช้าวันที่ 9 ธ.ค. ถือว่าดำเนินการช้าเกินไป เพราะถ้าประกาศยุบตั้งแต่ต้นเดือน พ.ย. ตอนที่ประชาชนเริ่มออกมาคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ผมคิดว่าปัญหาอาจไม่รุนแรงขนาดนี้" อาจารย์สุจิต ระบุอีกว่า การเลือกตั้งใหม่ไม่ได้ทำให้ปัญหาจบ เพราะหากผลการเลือกตั้งออกมาในทิศทางเดิม ปัญหาเดิมก็จะหวนกลับมาอีก เว้นแต่จะเกิดการเสียสละของกลุ่มผู้บริหารเดิม จากนายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) และอดีตนายกฯ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) เช่น ประกาศวางมือทางการเมือง ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งหน้า หรือให้สัญญาว่าตระกูลชินวัตรจะยุติบทบาททางการเมืองทุกกรณี "เรื่องนี้อย่าไปมองว่าเป็นการยอมแพ้ แต่ขอแนะให้มองเป็นการให้ทาน เสียสละ เพื่อประเทศก้าวไปข้างหน้า ถ้าสามารถทำได้จะได้แรงสนับสนุนจากประชาชนที่จะผลักดันขอคืนอำนาจตามมาตรา 3 และมาตรา 7 ให้เบาลง ข้อขัดแย้งต่างๆ ก็จะลดระดับความรุนแรงลง" สำหรับทางออกของวิกฤติการเมืองในระยะยาว อาจารย์สุจิต เสนอว่า ควรมีการทำงานการเมืองจากภาคตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้ง ควบคู่กับทำงานการเมืองจากภาคประชาชนไปพร้อมกัน เพื่อเป็นแรงผลักดันให้ "สภาตัวแทน" ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและชุมชนท้องถิ่นมากที่สุด "ผมคิดว่านายกฯควรรับเรื่องนี้ไปพิจารณา เพราะตอนนี้มีข้อเรียกร้องจากหลายฝ่าย เช่น กลุ่มเรียกร้องให้เลือกตั้งใหม่ กับกลุ่มที่เรียกร้องให้จัดตั้งสภาประชาชน จริงๆ แล้วสามารถเจรจาและทำกันได้ตามความเหมาะสม ผมคิดว่าสภาประชาชนควรเกิดขึ้น แต่ควรเกิดแบบไม่เป็นทางการ เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างแรงกดดันที่มากเกินไป รวมทั้งข้อขัดแย้งทางกฎหมาย แต่สภาประชาชนแม้ไม่เป็นทางการ ก็ยังมีบทบาทสร้างกระแสขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปประเทศ ซึ่งการปฏิรูปนี้จะมาจากหลายภาคส่วน ทั้งองค์กรนักธุรกิจ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)" "ในทางปฏิบัติ สภาประชาชนอาจมีต่อไปได้เรื่อยๆ เพื่อเป็นกระจกคอยรับฟังความคิดเห็นของประชาชนว่าสิ่งที่รัฐบาลควรทำคืออะไร แล้วผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อันนี้อาจเป็นทางออกหนึ่งของ กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)" นักรัฐศาสตร์ที่เฝ้าติดตามการเมืองไทยมาตลอดหลายสิบปี กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า การเคลื่อนไหวของมวลชนในครั้งนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีของการเมืองภาคประชาชน และสามารถพัฒนาต่อไปได้ หลายคนที่ออกมาก็ไม่ได้ชอบการทำงานของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. หรืแม้แต่พรรคประชาธิปัตย์ แต่เพราะ ไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาล จึงเป็นการขับเคลื่อนที่มีพลัง "พลังของประชาชนแบบนี้ต้องคงอยู่ต่อไป เพื่อเป็นกระจกคอยเตือนสภาและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งว่าไม่สามารถทำอะไรเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้องได้อีกแล้ว แต่การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนต้องมีเป้าหมายชัดเจน พร้อมข้อเสนอที่ทำให้สังคมดีขึ้นจริงๆ เพื่อเป็นประชาภิวัฒน์ที่แท้จริงในสังคมไทย"
ความขัดแย้งของการเมืองไทยในปัจจุบัน
โศกนาฏกรรมอันน่าเศร้าในการพัฒนาประเทศของทุกชาติบนโลกกลมๆใบนี้ หากพินิจพิจารณาดีๆจะพบว่า ล้วนแล้วแต่บ่มเพาะมาจากอำนาจของกิเลสในจิตใจของมนุษย์ และถ้าสังเกตให้ดี เราจะพบว่า”ผู้จุดชนวน”แห่งโศกนาฏกรรมนั้นมิใช่ประชาชนผู้หาเช้ากินค่ำ แต่หากชัดเจนที่สุดว่า มักจะเริ่มวี่แววของความโศกจากชนชั้นสูงที่เรียกตัวเองว่า”ชนชั้นศักดินา” แม้โลกจะวิวัฒน์พัฒนาจนค่าของ”นา”ไม่สำคัญเท่าค่าของ”เงิน”แล้วก็ตาม แต่นัยยะโดยกว้างของ”ศักดินา”ก็ยังคงครอบงำความคิด การกระทำ และคำพูดของชนชั้นศักดินาผู้มั่งมีให้เข้าใจว่าตนนี้แลคือผู้ยิ่งใหญ่ในบรรณพิภพนี้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย พฤติการณ์เช่นนี้ปรากฏได้ทั่วไปในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทย และเกี่ยวโยงกันอย่างยิ่งกับความขัดแย้งของการเมืองไทยในปัจจุบัน นับตั้งแต่การเมืองไทยถูกสถาปนาขึ้น นักการเมืองนั้นนับได้ว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนของชนชั้นศักดินาที่ควบคุมอำนาจของประเทศเอาไว้ด้วยเกียรติยศ ชื่อเสียง ทรัพย์ศฤงคาร ไพร่พลพวกพ้องของตน หากนักการเมืองนั้นเป็น”คนดี”ก็นับว่าเป็น“ชะตาดี”ของประเทศ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามมากจนทำให้คิดว่าประเทศไทยช่างดวงแข็ง เพราะถ้าเป็นประเทศอื่นอาจ “ชะตาขาด”ไปนานแล้ว มันเป็นเช่นนี้มานมนานตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันราวกับนักการเมืองรุ่นพี่ปูแนวทางไว้ให้กับรุ่นน้องในการทำมาหากินบนหลังคนด้วยกัน ปัญหาของการเมืองไทยในปัจจุบันนั้นมีจุดเริ่มมาจากกิเลสของนักการเมืองเพียงไม่กี่คนที่”หนา”และ”หนัก”เกินกว่ามนุดมนาสามัญชนทั่วไป จนทำให้เกิดการคอรัปชั่น โกงกิน และบ่อนทำลายสถาบันกษัตริย์ที่ยากเกินการยอมรับของประชาชนไทยบางกลุ่ม ในช่วงรัฐบาลชุด นายทักษิณ ชินวัตร ผลที่ตามมาก็คือการออกมาแสดงจุดยืนและเจตนารมณ์ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศเพื่อขับไล่นายทักษิณออกจากตำแหน่ง ซึ่งแย้งกับประชาชนอีกกลุ่มที่ยังเชื่อในความสามารถของนายทักษิณที่แม้จะชั่วแต่ก็นับเป็นนักการเมืองผู้มีความสามารถคนหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ความขัดแย้งดูเหมือนจะจบสิ้นลงด้วยการยึดอำนาจทางการเมืองด้วยคณะรัฐประหาร เมื่อ19 ก.ย.2549 ที่ปราศจากความรุนแรงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ไทย แต่ด้วยการผิดพลาดในการดำเนินการ”เคลียร์”ปัญหาบ้านเมืองแบบไม่จบของรัฐบาลชุด พล.อ.สุรยุทธ์ จุฬานนท์ ทำให้รัฐบาลตัวแทนของนายทักษิณกลับมารับตำแหน่งต่อถึงสองสมัย นั่นคือ รัฐบาลชุดนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ สิ่งที่ตามมา คือ ประชาชนทั้งสองกลุ่มต้องออกมาแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองคนละขั้วเช่นเดิม และต้นเหตุในครั้งนี้ก็ดูเหมือนจะมาจากการทำงานอย่างครึ่งๆกลางๆของรัฐบาลชุด พล.อ.สุรยุทธ์ความขัดแย้งดูเหมือนจะจบสิ้นอีกครั้งคำเมื่อคำพิพากษาของตุลาการตัดสินให้นายทักษิณมีความผิดจริง และนักการเมืองที่กระทำความผิดหลายคนต้องถูกสั่งห้ามลงเล่นการเมือง แต่...นักการเมืองที่เลวก็เปรียบได้กับเด็กที่ถูกพ่อแม่ตามใจ จะเอาอะไรก็ต้องได้สมใจปรารถนา เมื่อไม่ได้ก็โวยวาย กราดเกรี้ยว คิดค้นหากลวิธีเพื่อให้ได้ดัง “ใจฉัน” และวิธีดังกล่าวนี้ก็ไม่มีวิธีใดเลยจะประจานบิดามารดาของตัวเองได้ดี และเรียกร้องให้ชาวบ้านหันมาเห็นใจได้ดีเท่ากับการปลุกปั่นกระแสโดยใช้สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือ
ดูเหมือนนักการเมืองที่เลวนั้นจะรู้ว่าคนที่หันมาสนใจเค้านั้นอาจไม่ใช่เฉพาะเพียงคนรัก หากรวมถึงคนที่เกลียดชังตน ซึ่งนั่นน่าจะดีกว่าการถูกลืม จึงสรรหาสิ่งที่จะมาเป็นประเด็นให้ประชาชนสนใจและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเข้ามาแสวงหาลาภ ยศ สรรเสริญของตนสิ่งที่เป็นประเด็นปัญหาหลักที่ถูกหยิบยกในขณะนี้ “การแก้รัฐธรรมนูญ” “รัฐธรรมนูญ”เป็นกฎหมายหลักอันสูงสุดของประเทศ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยนั้นมีการฉีกและเขียนรัฐธรรมนูญซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่มีฉบับใดที่ลงตัวเลยสักครั้ง โดยเฉพาะฉบับปัจจุบันซึ่งเป็นประเด็นร้อน
“รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550” อาจเรียกได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ “เข้ม”กับนักการเมืองมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย แม้จะมีการลงประชามติยอมรับจากประชาชนก็ตาม แต่ที่มาที่ย่อมไม่สวยเท่า “รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”ซึ่งประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างโดยตรง ซึ่งแท้จริงแล้วรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอาจไม่มีข้อบกพร่องเลยก็เป็นได้ หากไม่กระทบกระเทือนผลประโยชน์ของนักการเมืองใหญ่น้อยในประเทศแห่งนี้ผู้มีนิสัยนิยมความเป็นใหญ่และจมไม่ลงอย่างเหลือหลาย สิ่งที่เกิดตามมา คือ การแตกแยกกันเป็นฝักฝ่ายของประชาชนตามความเห็นที่ต่างกันไปตามขั้วการเมือง ทำให้ประเทศอ่อนแอ ขาดความน่าเชื่อถือจากนานาประเทศ ซึ่งอาจเรียกได้ว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยแต่ที่น่าสังเกต คือ แนวคิดของประชาชนในยุคสมัยนี้ดูเหมือนจะมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ผิดกับแนวคิดประนีประนอมต่อนักการเมืองของคนไทยในอดีตนั่นคือ“ไม่มีนักการเมืองที่ไหนไม่โกงกินหรอก แต่ยังไงก็ขอให้พ่อกินน้อยๆหน่อยก็แล้วกัน แล้วบริหารประเทศให้ฉันได้มีอยู่มีกินบ้างนะพ่อ” ซึ่งฟังแล้วคลับคล้ายคลับคลากับคำปรารภของหญิงสาวที่มีต่อชายหนุ่มที่ว่า “รักน้อยๆแต่รักนานๆนะที่รัก” อย่างไรชอบกล
นี่อาจเป็นจุดที่น่าดีใจบ้างในความขัดแย้งดังกล่าวซึ่งหาได้ยากเต็มที
ที่มา http://noomod5508010068.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น